โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความรุนแรง และสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตมากเป็นอันดับสองรองลงมาจากโรคมะเร็ง หากรู้ตัวว่าเป็นแล้วต้องมีการดูแลตนเองเป็นอย่างดี เพื่อยืดอายุของคนไข้ให้ยาวนานขึ้น ด้วยการปรับพฤติกรรมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากกระทำได้อย่างเหมาะสมก็จะสามารถต่อเวลาชีวิตออกไปได้
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- เจ็บแน่นหน้าอก
- เหนื่อยง่ายขณะออกแรง
- หัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเรื้อรัง
- ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
- หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น
- ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
อายุที่มากขึ้นมีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้น และเพศชายเป็นได้มากกว่าเพศหญิง หากในวัยหมดประจำเดือนเพศหญิงมีโอกาสเป็นเท่ากับเพศชาย
ประวัติครอบครัว
ปัจจัยที่ควบคุมได้
- การสูบบุหรี่
- ไขมันในเลือดสูง
- ความดันโลหิตสูง
- ไม่ออกกำลังกาย
- น้ำหนักมากหรืออ้วน
- โรคเบาหวาน
- กินอาหารไม่มีประโยชน์
- ความเครียด
ผลกระทบหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้หรือรู้ตัวช้า ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมตามเวลา เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีปัจจัยเสี่ยง ไขมันจะเริ่มเกาะที่ผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้หลอดเลือดตีบหรือแคบลง ส่งผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการปริแตกของหลอดเลือด เกล็ดเลือดหลุดเข้าไปอุดตันทางเดินของหลอดเลือด และเมื่อมีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจเกินร้อยละ 50 คนไข้จะเริ่มมีอาการแสดง
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ
หากคนไข้พบแพทย์ด้วยอาการแน่นหน้าอก หรืออาการอื่นที่กล่าวมาข้างต้น คนไข้จะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที และเจาะเลือดเพื่อดูเอนไซม์ของหัวใจ หากสูงขึ้นแสดงว่ามีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ ร่วมกับซักประวัติคนไข้ สอบถามระยะเวลาที่เจ็บแน่นหน้าอก หากมากกว่า 20 นาที อาจเกี่ยวข้องกับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- หากหลอดเลือดตีบตันเพียงบางส่วน รักษาด้วยยา
- หากหลอดเลือดตันมาก รักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจ
- หากไม่สามารถทำบอลลูนหัวใจได้ รักษาด้วยการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ
การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง (ควบคุมอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม ลดน้ำหนักตัว)
- กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
- กินผัก ผลไม้ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
- กินอาหารแต่พออิ่ม หลังกินเสร็จพัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เพราะหลังกินอาหารเลือดจะไปเลี้ยงที่ท้อง หากไม่พักจะทำให้เจ็บหน้าอก
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลังการรักษาแพทย์จะให้คนไข้ฝึกเดิน จากนั้นควรเพิ่มระยะเวลาทีละน้อย
- ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน ลดความเครียด
- ไม่สูบบุหรี่
- การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว และอาหารเค็มจัด
- กินอาหารที่มีไขมันน้อย
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
- ควบคุมน้ำหนัก
- ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง